วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

E-Book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์


E-Book คือ อีบุ๊ค” (e-Book , e-Book , eBook , EBook) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ มี ลักษณะพิเศษคือสามารถสื่อสารกับผู้อ่านในลักษณะของมัลติมีเดียได้ ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง แต่ยังคงรักษารูปแบบความเป็นหนังสือไว้ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หรือลักษณะการเปิดอ่านไว้ด้วย
  


ลักษณะ 
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีโครงสร้างเหมือนๆกับหนังสือเล่มทั่วๆที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ ซึ่งโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
          - หน้าปก (Front Cover)
                   หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
          - คำนำ (Introduction)
                   หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
- สารบัญ (Contents)
                             หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้
- สาระของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents)
                             หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่ม ประกอบด้วย
                             - หน้าหนังสือ (Page Number)
                             - ข้อความ (Texts)
                             - ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
                             - เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
                             - ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg, .wav, .avi
                             - จุดเชื่อมโยง (Links)
- อ้างอิง (Reference)
                             หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้.
- ดัชนี (Index)
                             หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษรให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
- ปกหลัง (Back Cover)
                             หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม


 การประยุกต์ใช้กับการศึกษา
          E-Book จัดว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักการศึกษา และ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา Electronic Bookจะครอบคลุมหนังสือทั่ว ๆ ไปที่จัดทำแล้วสามารถอ่านได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการอ่านโปรแกรมโดยเฉพาะตำราอิเล็กทรอนิกส์จะเป็น Electronic Book ประเภทหนึ่งที่จำเป็นต้องนำมาจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสังคมการเรียนรู้ในปัจจุบัน
ข้อดี 
1. เป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่าง ๆ มารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว คือ สามารถแสดงภาพ แสง เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้เร็ว
3. ครูสามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการชักจูงผู้เรียนในการอ่าน, การเขียน, การฟัง และ การพูดได้
4. มีความสามารถในการออนไลน์ผ่านเครือข่ายและเชื่อมโยงไปสู่โฮมเพจและเว็บไซต์   ต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถอ้างอิงในเชิงวิชาการได้
5. หากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตจะทำให้การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขว้างกว่าสื่อที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์
6. สนับสนุนการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน ห้องสมุดเสมือนและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
7. มีลักษณะไม่ตายตัว สามารถแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อักทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยใช้ความสามารถของไฮเปอร์เท็กซ์
8. ในการสอนหรืออบรมนอกสถานที่ การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น เนื่องจากสื่อสามารถสร้างเก็บไว้ในแผ่นซีดีได้ ไม่ต้องหอบหิ้วสื่อซึ่งมีจำนวนมาก
9. การพิมพ์ทำได้รวดเร็วกว่าแบบใช้กระดาษ สามารถทำสำเนาได้เท่าที่ต้องการ ประหยัดวัสดุในการสร้างสื่อ อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
10. มีความทนทาน และสะดวกต่อการเก็บบำรุงรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารย้อนหลังซึ่งต้องใช้เนื้อที่หรือบริเวณกว้างกว่าในการจัดเก็บ สามารถรักษาหนังสือหายากและต้นฉบับเขียนไม่ให้เสื่อมคุณภาพ
11. ช่วยให้นักวิชาการและนักเขียนสามารถเผยแพร่ผลงานเขียนได้อย่างรวดเร็ว


ข้อจำกัด 
1. ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และเครือข่าย นอกจากตั้งใจเรียนเนื้อหา
2. ความยากในการวิเคราะห์และออกแบบเนื้อหา สำหรับการจำลองหรือแสดงผลเนื้อหาให้ง่ายต่อการอ่านและการเรียนรู้ภายใต้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย ระบบเครือข่าย และเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามต้องการ
3. คนไทยส่วนใหญ่ยังคงชินอยู่กับสื่อที่อยู่ในรูปกระดาษมากกว่า อีกทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สมารถใช้งานได้งายเมื่อเทียบกับสื่อสิ่งพิมพ์ และความสะดวกในการอ่านก็ยังน้อยกว่ามาก
4. หากโปรแกรมสื่อมีขนาดไฟล์ใหญ่มากๆ จะทำให้การเปลี่ยนหน้าจอมีความล่าช้า
5. การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี ผู้สร้างต้องมีความรู้ และความ ชำนาญในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการสร้างสื่อดีพอสมควร
6. ผู้ใช้สื่ออาจจะไม่ใช่ผู้สร้างสื่อฉะนั้นการปรับปรุงสื่อจึงทำได้ยากหากผู้สอนไม่มีความรู้ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
7. ใช้เวลาในการออกแบบมาก เพราะต้องใช้ทักษะในการออกแบบเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพ

 ______________________________________


วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Cloud Computing



ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) หมายถึง ทรัพยากรสำหรับการประมวลผลที่มีการจัดเตรียมโดยบุคคลที่สาม ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้ถูกจัดเตรียมไว้ที่ตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์คอมพิวเตอร์  ฝั่งผู้ให้บริการ  จากนั้นผู้ใช้บริการสามารถเข้าไปใช้งานทรัพยากรเหล่านี้โดยการซื้อ หรือเช่าได้ตามความต้องการของผู้ใช้โดยไม่ต้องคำนึงว่าทางผู้ให้บริการทรัพยากร จะบริหารทรัพยากรให้มีความสามารถขยายตัวด้วยวิธีอะไรแนวคิดการใช้งานทางด้าน ไอทีที่ใช้วิธีการดึงสมรรถภาพจากคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องจากสถานที่ต่าง ๆ ให้มาทำงานร่วมกันเพื่อช่วยขยายการบริการทางด้านไอที

 ลักษณะเด่นของระบบ Cloud computing
- ประหยัดงบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
- ไม่จำกัดสถานที่ในการใช้งานและอุปกรณ์ แค่สามารถออนไลน์เข้าอินเทอร์เน็ตได้ก็สามารถใช้งาน Cloud computing ได้เลย
- กลุ่มผู้ใช้งานมีความต้องการการใช้งานไม่เท่ากัน ทำให้ประหยัดในการลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ในการใช้งานใน Cloud computing
- สามารถจัดการหรือปรับเปลี่ยนระบบได้ง่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน (Performance) หรือประหยัดการใช้งานทรัพยากรต่างๆ โดยไม่ต้องใช้วิศวกรที่มีความสามารถสูง ลดภาระด้านการจ้างบุคคล
ประเภทของ Cloud computing
Cloud computing สามารถแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของ Infrastructure ได้ 3 ประเภท คือ
        1. Public cloud จะรันและให้บริการบน Cloud’s servers, ระบบเก็บข้อมูล และ networks ที่เป็นของผู้ให้บริการ ซึ่งผู้ใช้บริการต่างๆ จะเข้าไปใช้บริการ Application หรือ Service ที่ต้องการได้ตามที่ผู้ให้บริการได้เปิดให้ใช้บริการ Application หรือ Service นั้น
        2. Private cloud  จะรันและให้บริการบน servers, ระบบเก็บข้อมูล และ networks ที่เป็นของผู้ใช้บริการเอง หรือเปิดให้ใช้เฉพาะผู้ใช้บริการรายนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการเป็นผู้ควบคุมและจัดการระบบเอง ซึ่งผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้ง, Setup และ Support เท่านั้น
        3. Hybrid cloud จะประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมที่เกิดจากผู้ให้บริการหลาย ๆ แหล่งทั้ง Private cloud และ Public cloud โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปทางระบบเอ็นเตอร์ไพรส์ หรือเน้นทางด้านกิจกรรมต่าง ๆ

การใช้ Cloud computing ในการเรียนการสอน
          ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมที่หลากหลายของคนในสังคม โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งจำเป็นของสังคม ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน ธุรกิจ การศึกษา และบันเทิง เทคโนโลยี Cloud-computing เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดการทำงานบนอินเตอร์เน็ต ที่แพร่หลายและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย Cloud-computing เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการบูรณาการวิทยาการทางเครือข่ายและคอมพิวเตอร์  การจัดเก็บข้อมูล การบริการทรัพยากรข้อมูลไว้ด้วยกัน
ข้อดี
1. ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งานจริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย
2. ลดความเสี่ยงจากการเริ่มต้นหรือทดลองโครงการ
3. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
4. ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง
5. มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง

ข้อเสีย
1. เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการ Host ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง
2. ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล

3. ความไม่มีมาตรฐานของแพลทฟอร์ม ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ 

_____________________________________________

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

LMS และ CMS

LMS 

          LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management Systemหรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ

ลักษณะของ LMS
          1. กำหนดผู้ใช้งาน                         2. ระบบการสื่อสาร
          3. แหล่งอ้างอิง                             4. การตรวจและให้คะแนน
          5. การติดตามพฤติกรรมการเรียน      6. การรายงานผล
          7. ระบบการสอน                         8. ความสามารถในการนำเสนอ Rich Media

องค์ประกอบของ LMS
          1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ
          2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง
          3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ สามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
          4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน
          5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียน

ข้อดี
1.      ระบบจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน ครอบคลุมเครื่องมือที่หลากหลายขึ้นมาก
2.       รายการของเครื่องมือบนระบบการจัดการการเรียนการสอน ครอบคลุมตั้งแต่เครื่องมือสำหรับการจัดระบบที่ไม่สลับซับซ้อน
3.       การพัฒนาระบบการจัดการการเรียนการสอนในปัจจุบันยังครอบคลุมในด้านของคุณภาพของเครื่องมือบางประเภท
4.       การเรียนการสอนส่วนใหญ่ในขณะนี้สามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆได้
5.      ปรับใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ข้อเสีย
1.      เครื่องมือที่ได้รับการพัฒนามาแล้วยังไม่สามารถสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามหลักทางครุศาสตร์
2.      ทางด้านการจัดการเรียนการสอน ยังไม่ยืดหยุ่นพอสำหรับความต้องการในการออกแบบการเรียนของผู้สอนในสมัยใหม่ ส่งผลต่อความน่าเบื่อของการเรียนในลักษณะ e-Learning

 ________________________________________________________


CMS

          CMS ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้
          CMS เป็นเหมือนโปรแกรม โปรแกรมหนึ่ง ที่มีผู้พัฒนามาจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเว็บไซต์เช่น PHP , Python , ASP , JSP ซึ่งในปัจจุบันมีคนใจดีพัฒนา CMS ฟรีขึ้นมามากมายอย่างเช่น Mambo , Joomla , Wordpress

ลักษณะการทำงานของ Content Management System (CMS) 
          เป็นระบบที่แบ่งแยกการจัดการในการทำงานระหว่างเนื้อหาออกจากการออกแบบ โดยการออกแบบเว็บเพจจะถูกจัดเก็บไว้ใน Templatesหรือ Themes ในขณะที่เนื้อหาจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อใดที่มีการใช้งานก็จะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ส่วน เพื่อสร้างเว็บเพจขึ้นมา โดยเนื้อหาอาจจะประกอบไปด้วยหลายๆส่วนประกอบ เช่น Sidebar หรือ Blocks, Navigation barหรือ Main menu, Title bar หรือ Top menu bar เป็นต้น

ข้อดี
1.      ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์ เพียงแค่เคยพิมพ์ หรือเคยโพสข้อความในอินเทอร์เนต ก็สามารถมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้
2.      ไม่เสียเวลาไม่เสียเงินจำนวนมาก ในการพัฒนาเว็บไซต์
3.      ง่ายต่อการดูแล เพราะมีระบบจัดการทุกอย่างให้เราหมด มีระบบจัดการที่เราสามารถหามาใส่เพิ่มได้มากมาย อย่างเช่น ระบบแกลลอรี่

ข้อเสีย
1.      CMS มีหลายๆระบบมารวมกันทำให้เกิดควายุ่งยาก สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้
2.      ผู้ใช้ต้องศึกษาระบบ CMS เช่นจะต้องใส่ข้อความลงตรงไหน จะต้องแทรกภาพอย่างไร ซึ่งจะลำบากเพียงแค่ช่วงแรกๆ
3.      ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการ set up ครั้งแรกกับ web server




E-Portfolio

E-Portfolio (แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์)
          เป็นระบบที่ช่วยในการสร้างและเผยแพร่แฟ้มสะสมงาน(Portfolio) ในระบบ online ผ่านทาง Internet สำหรับบุคคลและองค์กรต่างๆที่ต้องการสะสมผลงานเป็นการนำเสนอเอกลักษณ์ ปรัชญา เป้าหมาย ทักษะ ความสามารถ ผลงานของเจ้าของผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ลักษณะแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)
แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
          1. เครื่องมือสาหรับการเรียนรู้ โดยใช้บันทึกสิ่งที่เรียนรู้
          2. เครื่องมือที่สาหรับแสดงสมรรถนะ แสดงความเชี่ยวชาญ ความรู้ ทัศนะและทัศนคติของเจ้าของแฟ้มในงานของตน 
         3. เครื่องมือสาหรับการประเมิน ทั้งการประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) ประเมินกระบวนการทางาน และ การประเมินผลลัพธ์


ตัวอย่าง การสร้าง e-Portfolio ด้วย Mahara



ข้อดี
1.      ลดการใช้ทรัพยากรสานักงาน เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ เป็นต้น
2.      สะดวกต่อการบริหารจัดการ
3.      นำเสนอผลงานซึงสามารถจัดแสดงผลงานได้อย่างตรงจุดในสิ่งต้องการ นำเสนอ เช่น ข้อมูล ประวัติ หรือเนื้อหาต่างๆ ทีจะชี้ให้เห็นศักยภาพของเจ้าของแฟ้ม สะสมงาน
4.      แก้ไขและปรับปรุงแฟ้มสะสมผลงานได้อย่างสะดวก สามารถปรับปรุงได้ ทันที ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าของแฟ้มสะสมผลงานในการพัฒนาแฟ้มของตน

ข้อจำกัด
1.      การแก้ไข e-Portfolio ในทุกครั้งต้องทำการแก้ไขบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
2.      ผู้ชมที่ไม่มีความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเข้าชม e-Portfolio ได้
3.      ผู้เรียนและผู้สอน มีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

__________________________________

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

U-Learning

         

         U - Learning มาจากคำว่า Ubiquitous Learning ซึ่งเป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
        U - Learning เป็นการผสมผสานกันของ e-Learning กับ m-Learning เป้าหมายให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามกระบวนการของ e-Learning โดยใช้อุปกรณ์ที่เป็นทั้งเครื่อง PC ที่มีระบบเครือข่ายทั้งชนิดใช้สายและไร้สาย ผสมผสานไปกับอุปกรณ์อื่น

ลักษณะของ U-Learning
          1. Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
          2. Multimedia สื่อ ที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
          3. Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
          4. Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม Links ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

รูปแบบการทำงานของ U-Learning
1.     Common Store สามารถแบ่งรายละเอียดออกเป็น 2 กลุ่มที่สำคัญ คือ
-                  กลุ่มแรก ได้แก่ Learning objects และ Learning tasks เป็นส่วนที่ใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ประกอบด้วย ข้อความ รูภาพ เสียง วิดีโอ เว็บไซต์ สื่อนำเสนอต่างๆ
-                  กลุ่มที่สอง ได้แก่ Learning, exposition Learning communications และ administrative functions เป็นส่วนที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรมอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและควบคุมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2.     Filtering criteria เป็นส่วนที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมาจาก Common Store แล้วทำการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่ากำลังสื่อสารไปยัง Desktop หรือ Mobile
3.     Rendering criteria เป็นส่วนที่ทำงานต่อมาจากส่วน Filtering criteria เพื่อทำการเลือกวิธีการนำเสนอให้เหมาะสมกับสื่อที่แตกต่างกัน ข้อมูลเดียวกันที่ถูกส่งไปยัง Desktop และ Mobile จะสามารถนำเสนอได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามขนาดของจอแสดงผล


การประยุกต์ใช้กับการศึกษา U-Learning

       
        การเรียนการสอนแบบ U-Learning ในประเทศไทยในปัจจุบัน ยังไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เงินลงทุนสูง ถึงแม้ว่าปัจจุบัน ระบบ GPS และอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกว่า PDA จะแพร่หลายโดยทั่วไป แต่ราคาก็ยังค่อนข้างสูง นอกจากนั้น ผู้เรียนยังต้องมี sensor ที่ สามารถตรวจจับขณะเรียนซึ่งมีราคา สูงเกินไปกว่าที่จะนำมาใช้ลงทุนเพื่อการเรียนในระดับบุคคลได้
U-Learning ไม่ใช่ E-Learning ที่มีแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ และสาย LAN หรือ GPRS ซึ่งส่งภาพและข้อความให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองในระยะไกล แต่ Ubiquitous เป็น การเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้เรียนว่ามีอุปสรรคต่อการทำความรู้และ ความเข้าใจหรือไม่เพื่อจะได้ให้ข้อมูลเสริมหรือการช่วยด้วยวิธีการอื่นๆที่ เหมาะสมตามบริบท การจะเข้าถึงสภาพแวดล้อมเช่นนั้นได้ ยังเป็นเทคโนโลยีนำเข้าที่แพงเกินไปสำหรับการเรียนการสอนในประเทศไทย


ข้อดี
     1.      การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งานจะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ
     2.      การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้งสถานที่ อุปกรณ์
3.      การบูรณาการ U-learning นั้นทำให้เกิดประโยชน์ต่อประสบการณ์การเรียนแบบกลางแจ้ง (outdoor) และการเรียนในร่ม (indoor) ตัวอย่างการเรียนกลางแจ้ง ได้แก่ในส่วน ศูนย์กลางของเมือง ในป่า ส่วนการเรียนในร่ม ได้แก่ ในพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการ หรือที่บ้าน

ข้อจำกัด
    1.      ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมถึงขนาด Ubiquitous ต้องใช้การลงทุนสูงมาก
    2.      จำนวนผู้ใช้บริการ และผู้ที่มีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี ดังกล่าว ยังน้อย ไม่คุ้มค่าการลงทุน

________________________________________________

M-learning



     การผสานกันระหว่างเทคโนโลยีของอุปกรณ์พกพาต่างๆ และ E- Learning ทำให้เกิด Mobile Learning หรือ M-Learning
             1.    Mobile หมายถึง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่น หรือแสดงภาพที่พกพาติดตัวไปได้
             2.   Learning หมายถึง การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งการเรียนรู้เกิดขึ้นได้เมื่อมีการแสวงหาความรู้ การพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคคลให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น รวมไปถึงกระบวนการสร้างความเข้าใจ และ ถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล 


ลักษณะของ  M-Learning

                เป็นการเรียนทางไกล และเวลาที่ไม่ตรงกันระหว่างครูและนักเรียน การเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการใหม่ของการศึกษาทางไกลที่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสารเทศ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นการเรียนรู้ที่ครูและนักเรียนสามารถติดต่อกันได้จากที่ห่างไกลและเวลาเดียวกันได้ 

รูปแบบการทำงานของ M-Learning


                M- Learning คือ การเรียนรู้โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เชื่อมต่อกับข้อมูล แบบไร้สาย ซึ่งคอมพิวเตอร์แบบพกพานี้ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย ซึ่งสามารถจัดเป็นประเภทของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ

                  1. PDAs (Personal Digital Assistant) คือคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก ที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ Pocket PC กับ Palm เครื่องมือสื่อสารในกลุ่มนี้ยังรวมถึง PDA Phone นอกจากนี้ยังหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอื่นๆอีก เช่น lap top, Note book และ Tablet PC 

 2. Smart Phones คือโทรศัพท์มือถือ ที่บรรจุเอาหน้าที่ของ PDA เข้าไปด้วยเพียงแต่ไม่มี Stylus แต่สามารถลงโปรแกรมเพิ่มเติมเหมือนกับ PDA และ PDA phone ได้ ข้อดีของอุปกรณ์กลุ่ม นี้คือมีขนาดเล็กพกพาสะดวกประหยัดไฟ และราคาไม่แพงมากนัก


                     3. IPod, เครื่องเล่น MP3 คือ เครื่องเสียงแบบพกพา ที่สามารถ รับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยการต่อสาย USB หรือ รับด้วยสัญญาณ Blue tooth สำหรับรุ่นใหม่ๆ มีฮาร์ดดิสก์จุได้ถึง 60 GB. และมีช่อง Video out และมีเกมส์ให้เลือกเล่นได้อีกด้วย   
           


การประยุกต์ใช้กับการศึกษา M-Learning


        ปัจจุบันได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อรองรับการบริการทางด้าน ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น รวมถึงทางด้านการศึกษาของไทย เนื่องจากโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีขนาด เล็ก น้ำหนักเบา สะดวกต่อการพกพาติดตัวไปไหนมาไหนตลอดเวลา จนกระทั่งเกิดการพัฒนา โปรแกรมการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือ M-Learning (Mobile Learning) ซึ่งเป็นการเรียน การสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป 

การสอนที่นำเสนอผ่านโทรศัพท์มือถือหรือ คอมพิวเตอร์แบบพกพา โดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย ที่สามารถต่อเชื่อมจากเครือข่ายแม่ข่าย ผ่ายจุดต่อแบบไร้สาย แบบเวลาจริง อีกทั้งยังสามารถปฏิสัมพันธ์กับโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ แบบพกพาเครื่องอื่น โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เช่น Bluetooth เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกัน
ข้อดี
1.      มีอิสระที่จะเลือกเรียนรู้ และรับรู้
2.      ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ ในการเรียนรู้
3.      มีแรงจูงใจต่อการเรียนรู้มากขึ้น
4.      ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง

      5.     ด้วยเทคโนโลยีของ M - Learning ทำให้เปลี่ยนสภาพการเรียนจากที่ยึดผู้สอนเป็น ศูนย์กลางไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้เรียนจึงเป็นการส่งเสริมให้มีการสื่อสารกับเพื่อนและ ผู้สอนมากขึ้น

ข้อจำกัด
1.     ขนาดของความจุ Memory และขนาดหน้าจอที่จำกัดอาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับการอ่าน ข้อมูล แป้นกดตัวอักษรไม่สะดวกรวดเร็วเท่ากับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
2.      การเชื่อมต่อกับเครือข่าย ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพง และคุณภาพอาจจะยังไม่น่าพอใจนัก

     3.      ความแข็งแรงของเครื่องยังเทียบไม่ได้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ


_______________________________________________